Funny game for your mobile

9 สัตว์ในตำนาน สัญลักษณ์ของชาติต่างๆ


        สัตว์ในตำนานคือ สัตว์ที่มาจากเรื่องเล่าทั้งในหนังสือ และเล่าสืบต่อกันมา ซึ่งอาจจะมีอยู่จริงหรือมีอยู่ในจินตนาการ หลายประเทศก็มักจะใช้สัตว์เหล่านี้ให้เป็นตัวแทนของกษัตริย์และเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติ แทบทุกประเทศล้วนมีสัตว์เป็นสัญลักษณ์ของประเทศ  บางประเทศมักจะใช้สัตว์เทพ หรือสัตว์ในตำนานมาเป็นตราสัญลักษณ์ของราชการ รวมไปถึงใช้แทนสิ่งมงคลต่างๆอีกด้วย อย่างเช่น จีนมักจะใช้มังกรแทนกษัตริย์ หรือในศาสนาฮินดูมีครุฑ พระยานาคที่เป็นพาหนะเทพ ซึ่งสัตว์ในตำนานเหล่านี้ยังมีการบรรยายลักษณะไว้ละเอียดเหมือนจริง และมีการเล่าว่าเคยพบเห็นสัตว์เหล่านี้ในที่ต่างๆ จนถึงปัจจุบันนี้ปริศนาของสัตว์บางตัวยังเป็นเรื่องที่รอพิสูจน์  เรามาดูกันว่าประเทศไหนนำเอาสัตว์ในตำนานมาเป็นสัตว์ประจำชาติกันบ้าง มาดูที่มาอันน่าสนใจของสัตว์เหล่านี้กัน



 ไทย: นาค (Nāga)
        เชื่อว่าสัตว์ในตำนานของไทยหลายคนต้องคิดถึง ครุฑ เพราะเป็นสัตว์เทพที่ใช้แทนตราแผ่นดิน หนังสือราชการหน่วยงานของรัฐ. เพราะครุฑเป็นพาหนะของเทพจึงเป็นสัญลักษณ์แทนพระมหากษัตริย์ แต่ราชการไทยได้ใช้ นาค สัตว์ในตำนานเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ คนละกรณีกับ ช้างไทย ซึ่งเป็นสัตว์ประจำชาติ ทั้งนี้ คณะกรรมการกระทรวงวัฒนธรรมที่เสนอเรื่องนี้ต่อที่ประชุม ครม. ระบุว่า นาคเกี่ยวพันกับความเชื่อและวัฒธรรมประเพณีของไทยมานานแล้ว แม้จะรับมาจากอินเดีย แต่ก็มีการสร้างสรรค์ต่อยอดเป็นของตัวเอง จึงได้มีการสนับสนุนให้ นาค เป็น เอกลักษณ์ประจำชาติ 
ซึ่งกรณีนี้ไม่ใช่ สัตว์ประจำชาติ



 สกอตแลนด์: ยูนิคอร์น (Unicorn)
        ในสมัยยุคเหล็กก่อนคริสต์ศตวรรษ ได้มีกลุ่มคนที่เคยปกครองบริเวณยุโรปแถบออสเตรีย เกรตบริเทน เวลส์ เรียกว่า ชาวเคลต์ ตำนานเล่ากันว่า สัตว์ในตำนานคือ  ยูนิคอร์น ซึ่งก็คือม้าสีขาวปลอด คือมีสีขาวล้วน ที่ดูสวย สง่า และมีเขาที่หน้าผาก ม้ายูนิคอร์นนั้นแทน ความบริสุทธิ์และความกล้าหาญ และชาวสก็อตก็ได้นำเอาเจ้ายูนิคอร์นมาเป็นตราประจำพระองค์ของกษัตริย์ แต่เป็นยูนิคอร์นที่ถูกล่ามด้วยโซ่ทองคำที่คอ เชื่อกันว่าสัตว์ที่แข็งแกร่งขนาดนี้ยังสยบต่อกษัตริย์ แม้แต่สัตว์เทพที่ยิ่งใหญ่และกล้าแกร่งยังต้องยอมสยบ และเชื่องด้วยเมื่ออยู่ในมือกษัตริย์แห่งสก็อต ทั้งนี้ในปัจจุบัน รัฐบาลสกอต ก็ประกาศใช้ยูนิคอร์นเป็นสัญลักษณ์แห่งชาติด้วย




เวลส์: มังกร (Dragon)
        เราจะเห็นมังกรสีแดงเพลิงได้จากธงชาติที่ใช้อยู่ในปัจจุบันของประเทศ ของไทยเองก็เคยใช้ธงช้างเผือกเป็นธงสัญลักษณ์ของประเทศในยุดที่ยังเป็นสยาม ประเทศเวลส์ยังคงใช้ ธงมังกรกันมาตั้งแต่ยุคกษัตริย์อาเธอร์แห่งเวลส์ เนื่องจากมังกรเป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ และยังเป็นสัตว์ในตำนานอีกด้วย


.


กรีซ: นกฟีนิกซ์ (Phoenix)
        กรีซมีวัตว์ประจำชาติอยู่ 2 ชนิด 1 คือ ปลาโลมา ส่วนสัตว์ในตำนานคือ วิหกไฟ นกฟีนิกซ์ อันธรรมชาติของฟินิกซ์นั้นเมื่อผ่านไป 500 ปี นกจะหมดอายุขัย ร่างกายจะลุกไหม้และจะถือกำเนิดขึ้นใหม่จากกองเถ้าถ่านของตัวเอง นกฟีนิกซ์มีอยู่ในบันทึกวรรณกรรมกรีกโบราณที่ชื่อว่า Account of Egypt ของเฮโรโดตัส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ราวๆ 430 ปี ก่อนคริสตกาล

การใช้ "นกฟีนิกซ์" เป็นสัญลักษณ์ประจำชาติกรีซมีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของประเทศ นกฟีนิกซ์เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่และการฟื้นฟู ซึ่งมีความหมายลึกซึ้งในบริบทของการต่อสู้และการฟื้นฟูอิสรภาพของประเทศกรีซ

ในประวัติศาสตร์ของกรีซ หลังจากที่ประเทศถูกยึดครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน (Ottoman Empire) มาเป็นเวลานาน กรีซได้ต่อสู้เพื่อเรียกร้องอิสรภาพในช่วงสงครามเอกราชกรีซ (1821-1829) และในช่วงที่ประเทศกำลังฟื้นฟูตัวเองจากการครอบงำ นกฟีนิกซ์จึงถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดใหม่และการฟื้นฟูชาติหลังจากความทุกข์ทรมานและการทำลายล้าง นอกจากนี้ นกฟีนิกซ์ยังสะท้อนถึงจิตวิญญาณของกรีซที่ไม่เคยยอมแพ้และสามารถฟื้นฟูจากความเสียหายได้เสมอ

ดังนั้น การเลือกใช้สัญลักษณ์นกฟีนิกซ์ในประเทศกรีซจึงมีความหมายเกี่ยวกับความหวัง การฟื้นฟู และการเริ่มต้นใหม่หลังจากความยากลำบากต่างๆ ที่ประเทศต้องเผชิญ



.


 ฮังการี: ทูรุล (Turul) เหยี่ยวพิทักษ์ดวงวิญญาณ
        บรรพบุรุษของชาวฮังการีนั้นเรียกว่า ชนเผ่าเร่รอน Magyars ตำนานว่าไว้ว่า ทูรุล เป็นสัตว์ที่ดูคล้ายเหยี่ยวและทำหน้าที่พิทักษ์ดวงวิญญาณของผู้คน ตำนานเล่าว่าในอดีต ชาว Magyars นั้นเร่ร่อนและค้นหาถิ่นที่อยู่อาศัย ที่เป็นดินแดนของอัตติลาอันเป็นนิมิตในฝัน จนกระทั่งพบนกทูรุล เป็นนกที่สวมมงกุฎและถืบดาบของของ Grand Duke Árpád สวมมงกุฎสีทอง เมื่อมาถึงดินแดนที่เป็นกรุงบูดาเปสต์ในปัจจุบันก็อ้าปากปล่อยดาบลงมา เพื่อเป็นนิมิตหมายให้ตั้งรกรากถิ่นฐานในที่แห่งนี้ ทำให้ทูรุลกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งชาติของฮังการีในปัจจุบัน
        เราจะพบเห็นอนุสาวรีย์นกทูรุล ได้ตามสถานที่สำคัญในฮังการี  เป็นรูปปั้นนกที่ใหญ่ที่สุดและจุดเด่นที่เห็นได้ชัดคือเป็นรูปปั้นขนาดใหญ่ สวมมงกุฎสีทอง และถือดาบของดยุคที่เป็นที่มาของการเกิดเป็นประเทศ ฮังการี ณปัจจุบัน



รัสเซีย: อินทรีสองหัว (Double-headed Eagle)

        เมื่อพูดถึงสัตว์สัญลักษณ์ของรัซเซีย ส่วนมากนึกถึงหมี และไม่ค่อยมีใครรู้จักนกอินทรีสักเท่าไหร่ และอินทรีสองหัวไม่มีจริงแน่นอน เหตุใดรัสเซียดินแดนแห่งหมีถึงใช้อินทรีสองหัวที่เป็นสัตว์ในตำนาน และใช้เป็นตรานกนี้เป็นตราแผ่นดินอย่างเป็นทางการ แม้ในปัจจุบันชาวโลกจะรับรู้กันดีอยู่ว่าสัญลักษณ์ของพรรคของประธานาธิปดีปูตินนั้นก็คือหมีขาว และหมีก็พูดถึงกันมาตลอดว่าเป็นสัญลักษณ์ของรัสเซีย รัสเซียนำตรานกอินทรีสองหัวมาใช้เนื่องจากตรานี้เคยเป็นตราประจำกองทัพและตราประจำตระกูลเก่าแก่ในอาณาจักรยุคไบแซนไทน์ เพื่อสะท้อนถึงความยิ่งใหญ่เกรียงไกรและบารมีที่แผ่ไพศาล ส่วนตรานี้เคยถูกยกเลิกใช้ในยุคที่รัสเซียรวมกับชาติอื่นเป็นสหภาพโซเวียต


.


ภูฏาน: มังกร (Druk)

        มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ซึ่งเป็นชื่อของประเทศภูฏานในภาษาฌงฆะ ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ แสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศนี้ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น สื่อถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน 
        สีทั้งสองของธงชาติยังบ่งบอกความเป็นชาติของชาวภูฏานอีกด้วย สีเหลืองแทน กษัตริย์ ส่วนสีส้มนั้นแทน การปฏิบัติธรรมและความเสื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ โดยภูฏานและทิเบตเป็นดินแดน แรก ๆ ที่ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาซึ่งมาจากดินแดนในเอเชียใต้เรียกกันว่า อนุทวีปอินเดีย
         ภูฏาน เป็นราชอณาจักรเล็กๆที่มีภูเขาอยู่เป็นจำนวนมาก ตั้งอยู่ระหว่างอินเดียและจีน จึงได้รับอิทธิพลทั้งจากอินเดียและจีน สิ่งที่น่าสนใจของประเทศนี้คือเป็นประเทศที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัย ภูฏาน มียอดเขาสูงกว่าระดับน้ำทะเล 7,000 เมตร (23,000 ฟุต) ชื่อว่า Gangkhar Puensum เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดของภูฏานและอาจเป็นภูเขาที่สูงที่สุดในโลกที่ยังไม่มีนักเดินทางไปพิชิตยอดเขา 
        ดินแดนแห่งมังกรสายฟ้านี้จึงมักจะได้ยินเสียงฟ้าผ่าใกล้กว่าที่อื่นๆ และพวกเขาเชื่อว่าเป็นเสียงสายฟ้าฟาดจากมังกรสายฟ้า ชื่อ ภูฏาน เป็นชื่อเรียกในภาษาฮินดี มีที่มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง"




สิงคโปร์: เมอร์ไลออน (Merlion)

        เมอร์ไลออน สัตว์ในตำนานที่นักท่องเที่ยวรู้จักกันดี เมอร์ไลออนเป็นเหมือนแลนด์มาร์คที่ใครไปมารีนาเบย์ต้องถ่ายรูป เนื่องด้วยสิงค์โปร์นั้นเต็มไปด้วยร้านค้าแบรนด์เนม และไม่มีโบราณสถานเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน โดย เมอร์ไลออน (Merlion) นั้นเกิดขึ้นเมื่อปี 1972 โดย ช่างฝีมือชาวสิงคโปร์ ชื่อ ลิม นัง เส็ง (Lim Nang Seng) สร้างขึ้นเพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยว
สิงโตตัวนี้เปรียบเหมือนสัญลักษณ์ประเทศเพราะ หัวของเมอร์ไลออน (Merlion) ถูกออกแบบให้เป็นสิงโต เป็นตัวแทนของชื่อดั้งเดิมของสิงคโปร์ คือ สิงหะปุระ หรือ เมืองสิงโต ในภาษามาเลย์ และในส่วนของลำตัวที่เป็นปลานั้น เป็นสัญลักษณ์ของจุดเริ่มต้นที่เรียบง่ายของสิงคโปร์ในฐานะหมู่บ้านชาวประมง ซึ่งเรียกกันในสมัยก่อนว่า Temasek (เทมาเส็ก) ที่แปลว่า ทะเลสาป ในภาษามาเลย์นั่นเอง
        เมอร์ไลออนที่รู้จักกันดีอยู่ที่ มารีนาเบย์นั่นเอง แต่ยังมี เมอร์ไลออน อยู่ในจุดต่างๆของสิงค์โปร์อีก 4 จุด แต่เป็นจุดเล็กๆ




อินโดนีเซีย: ครุฑ (Garuda)
ครุฑนั้นเป็นสัตว์พาหนะของพระวิษณุและเป็นที่รู้จักกันดีในอินโดนีเซีย เพราะไม่ใช่แค่ประเทศไทยที่ใช้ครุฑเป็นตราราชการ อินโดนีเซียเองก็มีครุฑที่เรียกว่า ครุฑปัญจศีล ตามตัวครุฑมีความหมายอันลึกซึ้ง ครุฑเป็นเหมือนศูนย์กลางแห่งความหลากหลายของเชื้อชาติของชาวอินโดนีเซีย ที่อกครุฑมีโล่ที่แบ่งเป็นภาพทั้ง 4 ที่มีความหมาย การออกแบบร่างครุฑเป็นการออกแบบเชิงสัญลักษณ์ประกอบด้วย ขนปีกข้างละ 17 เส้น ขนหาง 8 เส้น โคนหาง 19 เส้น ที่คอ 45 เส้น  หมายถึงวันประกาศเอกราช วันที่ 17 สิงหาคม 1945 นั่นเอง

  • ส่วนความหมายบนตรา รูปหัวควายป่า ถือเป็นสัญลักษณ์ของประชาชน
  • รูปต้นไทร หมายถึงลัทธิชาตินิยม
  • ช่องซ้ายล่างรูปดอกฝ้ายและช่อรวงข้าว  ความยุติธรรมในสังคม
  • ขวาล่างสร้อยสีทองร้อยทรงสี่เหลี่ยมสลับทรงกลม คือหลักการของมนุษยธรรมและความผูกพันในสังคมมนุษย์ทื่ไม่มีจุดสิ้นสุด
  • ส่วนโล่ตรงกลาง ที่เป็นสีดำ มีดาวสีทองนั้นคือ ความเชื่อในพระเจ้าสูงสุดนั่นเอง
เบื้องล่างของตราที่เท้าของครุฑนั้นจับแพรแถบสีขาว เขียนเป็นภาษาอินโดนีเซียว่า "Bhinneka Tunggal lka" (ในภาษาอินโดนีเซียเรียกว่า "บีเนก้า ตุงเกา อิกา") แปลได้ว่า "เอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย"
        สัญลักษณ์ครุฑปัญจศีลใช้ในการประทับที่หน้าปกหนังสือเดินทาง เอกสารทางราชการ และใช้ในทางราชการ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้