Funny game for your mobile

กำเนิด Godzilla ระเบิดปรมณูแห่งยุคโชวะสู่ฮีโรปกป้องมนุษย์ชาติ

   


   Godzilla หรือ โกจิรา เจ้าสัตว์ประหลาดยักษ์ไคจูที่ตอนนี้ไม่มีใครไม่รู้จัก เมื่อมันดังไกลไปทั่วโลก พื้นเพของมันเป็นที่รู้กันดีว่ามันเป็นสัตว์โบราณที่อยู่มานานก่อนจะมีมนุษย์ซะอีก มันจำศีลอยู่ในถ้ำใต้โลกมานานตั้งแต่สมัยไดโนเสาร์ จนกระทั่งมันถูกปลุกขึ้นมาโดยกัมมันตภาพรังสีจากระเบิดปรมณูนั่นเอง ก่อนหน้านั้นจุดกำเนิดของมันเป็นเหมือนการเตือนภัยและย้ำเตือนชาวญี่ปุ่นให้รู้สึกถึงภัยร้ายแรงของระเบิดนิวเคลียร์ที่เป็นเหมือนสัญลักษณ์แห่งการทำลายร้างและความสูญเสีย ในช่วงที่ภาพยนตร์เรื่องนี้ฉายออกไปนั้นก็เป็นช่วงเวลาที่ญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวจากพิษสงคราม อุตสาหกรรมเหล็กเจริญรุ่งเรือง แม้แต่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็บูมขึ้นอย่างรวดเร็ว ไม่น่าเชื่อว่าหลังจากนั้นแค่ 2 ปีฮอลลีวูดก็ซื้อลิขสิทธิ์ไปดัดแปลงฉายในสหรัฐอเมริกานั่นคือเรื่อง Godzilla King of the Monsters ปี 1956 และ Godzilla 1985  ภาพลักษณ์ศัตรูตัวร้ายของมนุษย์ชาติจึงเริ่มๆ มีชื่อเสียงเมื่อขึ้นฝั่งอเมริกาแม้จะยังคงได้เป็นตัวร้ายอยู่ก็ตาม




    เวอร์ชั่นก็อดซิลลา 1985 มันเป็นสัตว์ประหลาดที่อยู่เหนือสัตว์ไคจูทุกตัว ซึ่งอาจจะแตกต่างจากชาวญี่ปุ่นยุคก่อนที่มองมันเหมือนเป็นเครื่องเตือนจิตใจถึงระเบิดปรมณูที่นางาซากิ ฮิโรชิมา เพราะหลังๆชาวญี่ปุ่นเองก็อยากพยายามปรับเปลี่ยนหรือใส่คาแลคเตอร์ใหม่ๆให้กับมัน เนื่องจากเจ้านี่เก่งซะจนมีฐานแฟนคลับ หลังๆจึงได้มีการเปลี่ยนต้นกำเนิดของมันอยู่เนืองๆ ในปี 1954 ตรงกับสมัยโชวะ อันเป็นปีเกิดของเจ้าไคจูตัวนี้ ต้นกำเนิดของมันถูกเปลี่ยนจากไดโนเสาร์ยักษ์กลายเป็น กิ้งก่าอีกัวนาตัวนึงที่โดนรังสีจนทำให้มันกลายเป็นสัตว์กลายพันธ์ จนแข็งแกรงขึ้นและบึกขึ้นมากเวอร์ ช่วงนั้นคนไม่ยอมรับ จนชาวญี่ปุ่นต่างก็บอกกันว่า "มันไม่ใช่ก็อดซิลล่า มันเป็นเพียงแค่ซิลลา หรือชื่อลูกเสี้ยวที่ชาวเน็ตตั้งให้มัน 



        คนรุ่นหลังๆอาจจะมองว่ามันเป็นไคจูยักษ์ซัดกับไคจูต่างโลก แล้วเชียร์ให้มันชนะจากการที่ภาคหลังๆมันเริ่มจะดัง และเริ่มมีคู่ปรับเก่งๆออกมา  เนื้อเรื่องจึงเริ่มเปลี่ยนเป็นหนังสัตว์ประหลาดเต็มตัว ก็อดซิลลาต้องร่วมมือกับพรรคพวกของมันเพื่อจัดการไคจูตัวอื่น ก็อดซิลลาเริ่มมีฐานแฟนคลับมากขึ้น จนในปี 1967 มีภาคที่มีลูกของก็อดซิลลาด้วย หลังๆก็อตซิลลาเลยดูซอฟมากขึ้น และผู้คนก็เริ่มจะรักเจ้าสัตว์ประหลาดนี้มากขึ้น หลังๆมีการทำแก๊งไคจูตัวร้ายเข้ามาบุกโลก แล้วเราต้องเชียร์ให้ก็อดซิลลาชนะ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอันนี้ก็เกิดขึ้นพร้อมความเจริญของญี่ปุ่น และเศรษฐกิจญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว จากความสูญเสียเนื่องจากภัยพิบัตินิวเคลียร์ กลายมาเป็นความบันเทิงและความมันในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน         ทั้งนี้เกิดขึ้นมาในระยะเวลาแค่ 10 ปีเองนะ ยุคสมัยยังอยู่ที่โชวะอยู่เลย ก็อดซิลลาฮิตมากๆ มีภาคต่อออกมาเพียบ มันดังขึ้นมาพร้อมๆกับอุลตร้าแมนและไรเดอร์เลยก็ว่าได้ บางภาคเลยมีการนำ 2 ตัวนี้มาจับมือสู้กันด้วย จากภาคที่ Mega Godzilla อาละวาด ซึ่งมันแข็งแกร่งมากขนาดต้องให้ก็อดซิลลามาช่วยสู้มัน ได้เห็นก็อดซิลลาบินได้ก็คราวนี้ จากที่คิดว่ามันกระโดดได้ยังไง จากเรื่องล่าสุด Godzilla Vs Kong ไม่คิดว่าเมื่อก่อนมันทำได้ยิ่งกว่านั้น แค่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานับแต่ปี 1954 ยุคโชวะก็เกิดมีไคจูตัวใหญ่ๆมากขึ้นตั้งแต่ คิงคอง ม็อธรา คิงกิโดรา เมกาก็อดซิลลา ราดอน ตัวร้ายๆทั้งนั้น



        จากภาคแรกๆ ก่อนหน้านี้ลำแสง Atomic breath ยังเป็นเหมือนควันไอระเหยร้อนๆจากปาก เมื่อยิงไปโดนเหล็กความร้อนจากไอร้อนทำให้เหล็กหลอมละลาย นั่นอาจจะเพราะเทคนิคทางด้าน CGI ยังทำไม่ได้ก็เป็นไปได้ ในยุคนั้นสัตว์ประหลาดที่ไม่ใช่คนต้องถ่ายแบบ Stop Motion คือถ่ายทีละเฟรมแล้วเอาไปฉายด้วยสปีดให้ภาพมันเคลื่อนไหว แต่ด้วยภาพเป็นขาวดำอยู่จึงไม่ต้องซีเรียสงานลงสีมากนัก หลังๆจึงเห็นได้ชัดเลยว่าปรมณู นั้นไม่ใช่ตัว Godzilla หากแต่เป็น Atomic Breath  ของมันต่างหาก เห็นได้ชัดเจนจากเรื่อง Godzilla minus one ที่พลังทำลายล้างของมันดูคล้ายระเบิดจากนิวเคลียร์เลย ในความคิดของชาวญี่ปุ่น แอดคิดว่าพวกเขามองต่างกันไปแต่ก็เข้าใจนะ คนเก่าอาจจะมองก็อดซิลลาเป็นตัวร้าย ภัยพิบัติขั้นสุดที่ต้องกำจัดอยู่ และจบลงที่ชาวญีปุ่นเอาชนะมันได้ไม่ว่าจะใช้วิธีใดก็ตาม แต่คนรุ่นใหม่ๆน่าจะดูสนุกๆแถมยังซื้อฟิกเกอร์มาสะสมด้วย



        แม้ว่า Godzilla ในภาพยนตร์ Gojira (1954) จะเป็นสัญลักษณ์ถึง “ภยันตราย” ของมนุษยชาติในหลายแง่มุม แต่ Godzilla ยุคต่อ ๆ มาก็มีหลายจักรวาลดีบ้างร้ายบ้าง แต่อย่างไรก็ตามแต่ละเรื่องก็เป็นความทรงจำในแต่ละยุคสมัย แอดยังรอก็อดซิลลากับกับคองในภาคใหม่อยู่ ภาพยนตร์ Godzillaทำมาถึงทุกวันนี้มีการแบ่งออกเป็น 4 ยุคเลยนะ นั่นก็คือ ยุคโชวะ 1954-1975, ยุคเฮเซ 1984-1998, ยุคมิลเลเนียม 1999-2004 และยุคหลังปี 2004 ถึงปัจจุบัน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้