ลุงคำอยู่บ้านนอก ไม่เคยไปติดต่อธุระการงานกับทางอำเภอเลย ดังนั้นเรื่องราวหรือวิธีปฏิบัติที่ทางอำเภอได้กระทำไปอย่างไรแกจึงไม่เข้า ใจ แต่แก่เป็นคนที่สนใจ เอาใจใส่สอบถามเขาอยู่เสมอ
ครั้งหนึ่ง ลุงคำมีกิจธุระจะเป็นต้องไปติดต่อกับทางอำเภอ เนื่องจากแกมีควายสองตัว เมื่อควายโตแล้วจะต้องนำไปทำตั๋วพิมพ์รูปพรรณ เพื่อแสดงกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของ แกตื่นแต่เช้า ห่อข้าวและจูงควายทั้งสองไปยังที่ทำการอำเภอ เพราะกรนำควายไปแต่เช้าความไม่เหนื่อย ควายทั้งคู่นี้ ตัวหนึ่งเขาบี้ (คือเขาเกเกตกลงข้างล่าง) เป็นตัวผู้ อีกตัวหนึ่งเป็นตัวเมีย เขากิ (เขาสั้นไม่โง้ง)
เมื่อถึงเวลา เจ้าหน้าที่ทางอำเภอก็มาตรวจขวัญและกรอกลงในแบบพิมพ์ เสร็จแล้วจึงมอบตัวพิมพ์รูปพรรณนั้นให้แก่ลุงคำไป ลุงคำรับตั๋วพิมพ์มายืนอ่านดูหลายเที่ยว ป้ามาเมียลุงคำยืนดูอยู่จึงขอดูตั๋วพิมพ์นั้นบ้าง พอดูรูปในตั๋วพิมพ์กับดูควายของแกแล้ว ป้ามาร้องออกมาดัง ๆ ว่า
"ป้อละอ่อนเหย มันท่าจะบ่าใจ้ควายเฮาเหียแล้ว" (พ่ออีหนู มันคงจะไม่ใช่ควายของเราเสียแล้ว)
ลุงคำสงสัยรีบถามออกไปว่า "มันเป๋นจะใดแม่ละอ่อน" (มันเป็นอย่างไรรึแม่อีหนู)
ป้ามา รีบบอก "ควายเฮาเขาบี้กับเขากิลู่ ควายในฮูปเขาว้องตึงมวน" (ควายของเราเขาเกกกับเขาสั้นนี่ ดูควายในรูปซิ เขาโง้งทั้งสองตัว)
ลุงคำ พิจารณาดูรีบตอบว่า "เอ่อ แต้ ๆ ข้าจะไปหาเสมียนก่อน" (เออ จริง ๆ ซิ ฉันจะต้องไปถามเจ้หน้าที่ก่อน แกรีบเดินไปหาเจ้าหน้าที่ทันที)
พอไปถึงแกรีบบอกพนักงานตั๋วพิมพ์รูปพรรณ ครั้นจะออกเป็นภาษาพื้นเมืองก็เกรงว่าเสมียนจะไม่เข้าใจ จึงพูดภาษากลางว่า
"คุณ คุณ ซวาย (ควาย) ของผมเขาบี้กะเขากิ แต่นี่มันเขาว้องนี่ครับ "
เสมียนเมื่อได้ยินาคำตอบบอกดังนั้น จึงค่อย ๆ กระซิบว่า "ลุง เบา ๆ หน่อยอย่าพูดดัง คนอื่นจะได้ยิน"
ลุงคำคิดว่าตนได้ทีจึงตอบดัง ๆ ว่า
"จะเบาจะใด ควายเขากิเป็นเขาว้อง มันตึงเบาบ่าได้ มันบ่าใจ่ลู่ " (จะให้พูดเบา ๆ ได้ อย่างไรควายเขาสั้นมาทำตั๋วเป็นเขาโง้งนี่ ไม่ย่อมละเพราะมันไม่ใช่นี่)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น