ยังมีสถานที่ต่างๆทั่วไทยที่เต็มไปด้วยตำนานแห่งความรัก นอกจากเที่ยวชมทิวทัศน์ที่งดงามแล้ว ยังได้อินไปกับตำนานพื้นบ้านของสถานที่เหล่านี้ด้วย วันหยุดยาวนี้ หากได้ไปเที่ยวแถมยังได้ฟังตำนานพื้นบ้านเก่าแก่คงจะดีไม่น้อย ส่วนจะมีที่ไหนบ้างมารับชมกัน
“หนองหาน” ตำนานรัก “ผาแดง-นางไอ่”
“หนองหาน” แหล่งชมทะเลบัวแดงอันขึ้นชื่อของภาคอิสาน ทื่นี่นั้นเป็นทะเลสาบน้ำจืดอันกว้างใหญ่ที่สุดของอิสานเลยก็ว่าได้ หนองหานมีอยู่สองแห่งด้วยกันคือหนองหารที่ จ.สกลนคร และหนองหาน จ.อุดรธานี แม้หนองหานทั้งสองจะอยู่คนละจังหวัด แต่ทะเลสาบทั้งคู่นี้ต่างมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานรัก “ผาแดง-นางไอ่” เช่นเดียวกัน แปลกดีนะตำนานว่าดังนี้ครับ นางไอ่เป็นธิดาของพญาขอมได้พบรักกับกับท้าวผาแดง กษัตริย์ลาวรูปงามแห่งผาโพงนคร ทั้งสองนั้นเคยเป็นเนื้อคู่กันในอดีตชาติ ซึ่งเป็นหากรักกันตามปกติก็คงไม่มีหนองหานเกิดขึ้น แต่เมื่อ “ท้าวภังคี” โอรสของพญานาคใต้เมืองบาดาลผู้หลงรักนางไอ่ได้แปลงกายมาเป็นกระรอกเผือกเพื่อหวังชิดใกล้ แต่เกิดเหตุผิดพลาด กระรอกเผือกแสนสวยถูกนายพรานคิดจะจับแต่กลับถูกธนูยิงตาย และสุดท้ายถูกจับมากินเป็นอาหาร คนทั้งเมืองต่างพากันมากินเนื้อกระรอก แต่ก่อนตายท้าวภังคีได้สาปแช่งเอาไว้ว่า หากผู้ใดที่กินเนื้อของตนจะต้องล่มจมลงใต้บาดาลพร้อมกับบ้านเมือง และในคืนนั้นเองได้เกิดพายุใหญ่ แผ่นดินไหว น้ำท่วม ถล่มเมืองทั้งเมืองล่มจมลงไปในท้องบาดาลที่เชื่อกันว่าคือหนองหานในทุกวันนี้ ซึ่งจะมีบางส่วนที่ไม่ท่วมไปทั้งหมดว่ากันว่าคือเป็นที่อยู่ของผู้ที่ไม่กินเนื้อกระรอกนั่นเอง
ส่วนท้าวผาแดงซึ่งถูกพลัดพรากจากคนรักก็ตรอมใจตาย ด้วยรักที่ไม่สมหวังนี้เอง ทำให้วิญญาณของท้าวผาแดงกลายเป็นวิญญาณอาฆาตแค้นต่อพญานาค เมื่อวิญญาณของท้าวผาแดงและท้าวภังคีนาค พบกันเมื่อไหร่ การรบก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น
หนองหานในปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยเฉพาะหนองหานที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องของ “ทะเลบัวแดง” ซึ่งในช่วงหน้าหนาวจะมีดอกบัวแดง (บัวสาย) สีชมพูสดบานสะพรั่งนับล้านๆ ดอก กระจายไปทั่วน่านน้ำ สวยงามเป็นอย่างยิ่ง
หนองหานในปัจจุบันได้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว โดยเฉพาะหนองหานที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องของ “ทะเลบัวแดง” ซึ่งในช่วงหน้าหนาวจะมีดอกบัวแดง (บัวสาย) สีชมพูสดบานสะพรั่งนับล้านๆ ดอก กระจายไปทั่วน่านน้ำ สวยงามเป็นอย่างยิ่ง
“ภูพระบาท” ตำนานรัก “นางอุษา-ท้าวบารส”
“ภูพระบาท” ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี มีสภาพพื้นที่เป็นโขดหินและเพิงหินทรายกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเองจากฝีมือของธรรมชาติ เมื่อกาลเวลาผ่านมาเนินนานนับแสนนับล้านปี จนได้กลายมาเป็น กลุ่มก้อนหินรูปทรงประหลาด สุดแปลกตา บนลานหินกว้างใหญ่
ตำนานรักของที่นี่นั้นคือเรื่องราวรักที่ไม่สมหวังของ “นางอุสา กับท้าวบารส” เรื่องมีอยู่ว่า นางอุสาเป็นลูกสาวสุดรักของท้าวกงพาน ซึ่งเป็นเจ้าเมืองที่มีอิทธิฤทธิ์มาก นางอุสาเป็นผู้มีสิริโฉมที่งดงามมาก ด้วยความหวงแหนเกรงว่าลูกจะมีเคราะห์ตามคำทำนาย ท้าวกงพาน จึงได้สร้างตำหนักเป็นหอสูงไว้บนภูเขาให้นางอุสาอยู่ แต่ในที่สุด โชคชะตาก็นำพาให้ได้พบกับ ท้าวบารส โอรสแห่งเจ้าเมืองปะโค ซึ่งเป็นเจ้าชายหนุ่มรูปงามและมีบุญญาธิการมาก ต่อมานางอุสาได้พบรักกับท้าวบารสอยู่บ่อยๆและได้เป็นสามี ภรรยากัน เมื่อท้าวกงพานรู้จึงโกรธมากและอยากจะประหารท้าวบารส จึงออกอุบายแข่งขัน แต่ในที่สุดตนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ กลับต้องถูกประหารเสียเองตามที่ได้สัญญาเอาไว้
“ภูพระบาท” ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี มีสภาพพื้นที่เป็นโขดหินและเพิงหินทรายกระจัดกระจายอยู่เป็นจำนวนมาก นักธรณีวิทยาสันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเองจากฝีมือของธรรมชาติ เมื่อกาลเวลาผ่านมาเนินนานนับแสนนับล้านปี จนได้กลายมาเป็น กลุ่มก้อนหินรูปทรงประหลาด สุดแปลกตา บนลานหินกว้างใหญ่
ตำนานรักของที่นี่นั้นคือเรื่องราวรักที่ไม่สมหวังของ “นางอุสา กับท้าวบารส” เรื่องมีอยู่ว่า นางอุสาเป็นลูกสาวสุดรักของท้าวกงพาน ซึ่งเป็นเจ้าเมืองที่มีอิทธิฤทธิ์มาก นางอุสาเป็นผู้มีสิริโฉมที่งดงามมาก ด้วยความหวงแหนเกรงว่าลูกจะมีเคราะห์ตามคำทำนาย ท้าวกงพาน จึงได้สร้างตำหนักเป็นหอสูงไว้บนภูเขาให้นางอุสาอยู่ แต่ในที่สุด โชคชะตาก็นำพาให้ได้พบกับ ท้าวบารส โอรสแห่งเจ้าเมืองปะโค ซึ่งเป็นเจ้าชายหนุ่มรูปงามและมีบุญญาธิการมาก ต่อมานางอุสาได้พบรักกับท้าวบารสอยู่บ่อยๆและได้เป็นสามี ภรรยากัน เมื่อท้าวกงพานรู้จึงโกรธมากและอยากจะประหารท้าวบารส จึงออกอุบายแข่งขัน แต่ในที่สุดตนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ กลับต้องถูกประหารเสียเองตามที่ได้สัญญาเอาไว้
เมื่อนางอุสาได้อยู่กับท้าวบารสแทนที่จะมีความสุข กลับต้องผจญกับมเหสีของท้าวบารสที่มีอยู่ก่อนหน้าถึง 10 นาง สุดท้ายแล้วนางอุสาตรอมใจกลับไปเสียชีวิตบนหอสูงที่ตัวเองอาศัยอยู่ ท้าวบารสเมื่อทราบเรื่องก็ได้เดินทางไปหาแต่สายไปเสียแล้วนางใกล้จะตาย และสิ้นใจในที่สุด ร่างของนางนั้นก็ได้ถูกฝังไว้ที่บนภูพาน บริเวณนั้นเป็น (หินก้อนหนึ่งใกล้ ๆ หอนางอุสา เรียกว่า หีบศพอุสา) ต่อมาท้าวบารสก็ตรอมใจตายตามไป จากโศกนาฏกรรมรักนี้ทำให้สถานที่และก้อนหินรูปร่างต่างๆ บริเวณภูพระบาทมีชื่อเรียกขานเกี่ยวพันกับตำนานรักนางอุสา อาทิ หอนางอุษา คอกม้าท้าวบารส หีบศพนางอุษา หีบศพท้าวบารส บ่อน้ำนางอุษา เป็นต้น และสถานท่ี่แห่งนี้ยังได้รับการเสนอชื่อให้เป็นมรดกโลกอีกด้วย
"ถ้ำผานางคอย" นางที่เฝ้ารอคอยคนรักที่จากไป
ใน อ.ร้องกวาง จ.แพร่ มี “ถ้ำผานางคอย” เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ถ้ำแห่งนี้อยู่บนหน้าผา เป็นอุโมงค์ลึกยาว 150 เมตร มีหินงอกหินย้อยในลักษณะต่างๆ เป็นประติมากรรมที่ธรรมชาติสรรค์สร้าง อายุกว่า 800 ปี อีกทั้งในหน้าน้ำยังมีลำธารเล็กๆ ในถ้ำอีกด้วย และบริเวณสุดทางถ้ำมีก้อนหินใหญ่รูปร่างคล้ายหญิงสาวอุ้มลูกคล้ายรอคอยใครสักคนหนึ่ง นี่จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำผานางคอย ตำนานความรักของหญิงสาวผู้เฝ้ารอคอยสามีตลอดไป เรื่องราวมีอยู่ว่า
ใน อ.ร้องกวาง จ.แพร่ มี “ถ้ำผานางคอย” เป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ถ้ำแห่งนี้อยู่บนหน้าผา เป็นอุโมงค์ลึกยาว 150 เมตร มีหินงอกหินย้อยในลักษณะต่างๆ เป็นประติมากรรมที่ธรรมชาติสรรค์สร้าง อายุกว่า 800 ปี อีกทั้งในหน้าน้ำยังมีลำธารเล็กๆ ในถ้ำอีกด้วย และบริเวณสุดทางถ้ำมีก้อนหินใหญ่รูปร่างคล้ายหญิงสาวอุ้มลูกคล้ายรอคอยใครสักคนหนึ่ง นี่จึงเป็นที่มาของชื่อถ้ำผานางคอย ตำนานความรักของหญิงสาวผู้เฝ้ารอคอยสามีตลอดไป เรื่องราวมีอยู่ว่า
ในสมัยกาลก่อนมีอาณาจักรแห่งหนึ่งชื่อว่า แสนหวี มีองค์หญิงอรัญญาณีผู้สูงศักดิ์ และได้พบรักกับคะนองเดช หัวหน้าฝีพาย จนในที่สุดฝ่ายหญิงก็ตั้งครรภ์ ทั้งสองจึงตัดสินใจหนีออกมาด้วยกัน เมื่อหนีไปถึงกลางป่า ทหารจึงยิง หวังสังหารคะนองเดชแต่กลับพลาดไปถูกกลางอุระขององค์หญิงอรัญญาณี ทั้งสองหลบเข้ามาอยู่ในถ้ำ ฝ่ายหญิงปล่อยให้สามีหนีไปเสีย จะได้ไม่ต้องถูกประหาร และองค์หญิงอรัญญาณี ก็ได้ให้กำเนิดพระโอรสที่ถ้ำ และสัญญาว่าจะขอรออยู่ที่นี่ไปชั่วกัลปาวสาน ด้วยแรงอธิษฐานดังกล่าวทำให้ร่างของนางกลายเป็นหิน ส่วนมือโอบพระโอรสไว้บนตักอย่างนั้น และเป็นที่มาของชื่อถ้ำแห่งนี้ ผานางคอย
“ผาชู้” ตำนานรักสามเส้า
“ผาชู้” ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.นาน้อย จ.น่าน เป็นแหลางชมวิวธรรมชาติ ทะเลหมอกยามเช้าอันงดงาม นักท่องเที่ยวนิยมไปเยือนเพื่อรับลมหนาว สัมผัสบรรยากาศสดชื่นบนเขา
“ผาชู้” ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.นาน้อย จ.น่าน เป็นแหลางชมวิวธรรมชาติ ทะเลหมอกยามเช้าอันงดงาม นักท่องเที่ยวนิยมไปเยือนเพื่อรับลมหนาว สัมผัสบรรยากาศสดชื่นบนเขา
ส่วนตำนานนั้นเป็นตำนานรัก 3 เส้า ระหว่าง “เจ้าจ๋วง” เจ้าเมืองหนุ่มรูปงาม กับ “เจ้าเอื้องผึ้ง” ซึ่งมีคนรักอยู่แล้วคือ เจ้าจันทร์ผา เมื่อเจ้าเอื้องผึ้งจำใจต้องแต่งงานกับเจ้าจ๋วง จึงหนีไปกระโดหน้าผาตาย ฝ่ายชายก็ตามไปพบ เมื่อคนรักเสียไปแล้วจึงตายตามกันไปทั้ง เจ้าจันทร์ผา และเจ้าจ๋วง วิญญานของทั้งสามคนนั้นไปสถิตอยู่ไม่ไกล วิญญาณของเจ้าเอื้องผึ้งได้ไปสถิตอยู่กับดอกกล้วยไม้ที่เกาะอยู่ใต้ต้นจันทน์ผา ส่วนจิตใจของเจ้าจ๋วงมาสถิตอยู่กับต้นสน ณ จุดที่ตกไปไม่ไกล
ตำนานผาชู้ยังมีเรื่องเล่าแตกแยกออกไปค่อนข้างหลายตำนาน ว่ากันว่าเป็นฝ่ายชายที่พลาดตกลงไปเพราะเก็บดอกไม้บนหน้าผาพลาดก็มี หรืออีกตำนานก็เป็น เรื่องของเจ้าจ๋วงที่ไปพบรักกับเอื้อง บุตรสาวนายพราน เจ้าจ๋วงที่มีคนรักอยู่ก่อนหน้าแล้วนั้นคือเจ้าจันทร์ผา เจ้าจ๋วงตัดสินใจไม่ได้เพราะรักทั้งคู่ จึงอธิษฐานว่า “...ถ้าความรักของเราทั้งสามเป็นความรักแท้ที่บริสุทธิ์ ขอให้ร่างกายเรากลับกลายเป็นต้นไม้อยู่คู่กับโขดหินใหญ่แห่งนี้ตลอดกาล...” แล้วเจ้าจ๋วงก็กระโดดลงหน้าผา เจ้าจันทน์ผาเห็นดังนั้นก็กระโดดหน้าผาตายตาม ทำให้เอื้องที่เกรงกลัวบาปกรรมกระโดดหน้าผาตามไปอีกคน
“สะพานรักสารสิน” รักต่างชนชั้น
จากเรื่องจริงของชายหนุ่มหญิงสาวใน จ.ภูเก็ต ที่แตกต่างกันด้วยชาติตระกูลและฐานะทางสังคม ฝ่ายหญิงเป็นนักศึกษาวิทยาลัยครู ส่วนฝ่ายชายเป็นเพียงคนขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง บ้านของฝ่ายหญิงไม่พอใจฝ่ายชายจึงขัดขวางความรักอย่างหนัก ทั้งสองคนพยายามต่อสู้ฝ่าฟัน เพื่อให้รักสมหวังแต่ก็ทำไม่ได้ จึงตัดสินใจยอมแพ้ด้วยการเอาผ้าขาวม้าผูกมัดตัวทั้งสองติดกัน แล้วกระโดดจากกลางสะพานสารสินลงสู่ผืนน้ำ ทำให้เรื่องราวนี้กลายมาเป็นตำนานที่กล่าวขานกันอยู่ไม่รู้ลืม
สะพานสารสินจึงกลายมาเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ ปัจจุบันสะพานแห่งนี้ถูกใช้เป็นสะพานขาออกจากจังหวัดภูเก็ต ส่วนสะพานเทพกษัตรีที่อยู่เคียงกันเป็นสะพานที่รถใช้เดินทางเข้ามาจากจังหวัดพังงา
จากเรื่องจริงของชายหนุ่มหญิงสาวใน จ.ภูเก็ต ที่แตกต่างกันด้วยชาติตระกูลและฐานะทางสังคม ฝ่ายหญิงเป็นนักศึกษาวิทยาลัยครู ส่วนฝ่ายชายเป็นเพียงคนขับรถสองแถวและรับจ้างกรีดยาง บ้านของฝ่ายหญิงไม่พอใจฝ่ายชายจึงขัดขวางความรักอย่างหนัก ทั้งสองคนพยายามต่อสู้ฝ่าฟัน เพื่อให้รักสมหวังแต่ก็ทำไม่ได้ จึงตัดสินใจยอมแพ้ด้วยการเอาผ้าขาวม้าผูกมัดตัวทั้งสองติดกัน แล้วกระโดดจากกลางสะพานสารสินลงสู่ผืนน้ำ ทำให้เรื่องราวนี้กลายมาเป็นตำนานที่กล่าวขานกันอยู่ไม่รู้ลืม
สะพานสารสินจึงกลายมาเป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ ปัจจุบันสะพานแห่งนี้ถูกใช้เป็นสะพานขาออกจากจังหวัดภูเก็ต ส่วนสะพานเทพกษัตรีที่อยู่เคียงกันเป็นสะพานที่รถใช้เดินทางเข้ามาจากจังหวัดพังงา
"ถ้ำพระนาง" จ.กระบี่
หาดไร่เลย์ จ.กระบี่ เป็นที่ตั้งของ “อ่าวถ้ำพระนาง”
หาดไร่เลย์ จ.กระบี่ เป็นที่ตั้งของ “อ่าวถ้ำพระนาง”
ที่นี่ ถือเป็นหนึ่งในไฮไลต์ของทะเลกระบี่ เพราะมีชายหาดที่เงียบสงบ มีหาดทรายขาว และน้ำทะเลสวยใส อีกทั้งยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพของชาวบ้านในบริเวณนี้ด้วยนั่นก็คือ “ถ้ำพระนาง” อันมีตำนานหนึ่งเล่าขานกันมาว่า
นานมาแล้วมีสามีภรรยาคู่หนึ่งอยู่กันมานานอยากมีบุตร จึงไปขอร้องกับพญานาคให้ประทานลูกให้ พญานาคตกลงให้ลูกสาวคนหนึ่ง แต่มีข้อแม้ว่าเมื่อเด็กคนนี้โตขึ้นจะต้องให้แต่งงานกับลูกชายของตน
แต่เมื่อหญิงสาวโตขึ้นหญิงสาวคนนั้นกลับไปแต่งงานกับคนอื่น พญานาคก็โกรธ จึงออกมาอาละวาดทำลายพิธีแต่งงาน และเกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น พยานาคก็สู้รบกับมนุษย์มาเนิ่นนาน จนผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว เดือดร้อนถึงฤาษีตนหนึ่งที่อยู่ในถ้ำ จึงออกมาห้ามปรามก็ไม่มีใครฟัง ฤาษีจึงสาปให้ทุกคนในที่นั้นเป็นหินไปซะ เรือนหอนั้นจึงกลายเป็นถ้ำ เป็นที่มาของชื่อ “ถ้ำพระนาง”
แต่เมื่อหญิงสาวโตขึ้นหญิงสาวคนนั้นกลับไปแต่งงานกับคนอื่น พญานาคก็โกรธ จึงออกมาอาละวาดทำลายพิธีแต่งงาน และเกิดการทะเลาะวิวาทกันขึ้น พยานาคก็สู้รบกับมนุษย์มาเนิ่นนาน จนผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว เดือดร้อนถึงฤาษีตนหนึ่งที่อยู่ในถ้ำ จึงออกมาห้ามปรามก็ไม่มีใครฟัง ฤาษีจึงสาปให้ทุกคนในที่นั้นเป็นหินไปซะ เรือนหอนั้นจึงกลายเป็นถ้ำ เป็นที่มาของชื่อ “ถ้ำพระนาง”
ส่วนผู้คนแถบนี้เชื่อกันว่า ภายในถ้ำมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่ เป็นผู้หญิงที่มีฤทธิ์และบารมี ชาวประมงที่เข้าไปหลบมรสุมในถ้ำแห่งนี้เคยฝันเห็นและก็เล่าต่อๆ กันมา หลังจากนั้นก็ได้มีการสร้างศาลขึ้น ต่อมาชาวเรือที่อยากจะปลอดภัยเวลาจะออกทะเลไปหาปลา ก็จะมากราบไหว้และนำปลัดขิกไปถวายเพื่อบนบานแก่พระนางผู้ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ให้ช่วยคุ้มภัย ชาวประมงจึงได้มากราบไหว้ที่นี่จนมีของไหว้ปรากฎพบเห็นกันในปัจจุบัน
"เขาสามมุก" หาดบางแสน สัญญารักที่มั่นคง
ชายทะเลบางแสนในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ มีตำนานรักลือลั่น และมีรูปปั้นเจ้าแม่ที่คนท้องถิ่นบูชา
ชายทะเลบางแสนในอดีตเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมงเล็กๆ มีตำนานรักลือลั่น และมีรูปปั้นเจ้าแม่ที่คนท้องถิ่นบูชา
ตำนานของเจ้าแม่เขาสามมุกแห่งบานแสนเล่ากันว่า “แสน” ลูกชายคนเดียวของกำนันบ่าย ผู้มีฐานะร่ำรวย ในยามว่างหนุ่มแสนชอบที่จะไปเล่นว่าวที่บริเวณชายหาด ในวันหนึ่งว่าวปักเป้าของหนุ่มแสนขาดลอยหายไป “สามมุก” หลานสาวของยายเฒ่าที่ปลูกกระท่อมอยู่บนหน้าผาริมทะเลนั้นเก็บว่าวนั้นได้
เมื่อได้เจอกันทั้งสองต่างก็รักกันและได้นัดพบกันบนหน้าผาแห่งนั้นอยู่เสมอ และได้ให้สัญญารักต่อกันว่าจะยึดมั่นในความรักไม่มีวันเปลี่ยนแปลง หากไม่สามารถได้สมรักก็จะสังเวยชีวิตด้วยกัน ณ ที่หน้าผาอันเป็นที่พบกันครั้งแรกแห่งนี้
แต่กำนันบ่ายกลับบังคับให้แสนแต่งงานกับลูกสาวของพ่อค้าที่มีฐานะดี ในวันแต่งงานของแสน สามมุกก็มาปรากฎตัวในวันรดน้ำสังข์ จากนั้นเธอก็วิ่งหนีไปและกระโดดหน้าผาสังเวยชีวิตที่แห่งนั้น แสนผู้ยังไม่ลืมคำสัญญาก็กระโดดตามลงไป ชาวบ้านต่างก็เศร้าสลดใจยิ่งนัก ต่างต่อว่าด่าทอกำนันบ่าย หลังจากนั้น กำนันก็เอาของมาเซ่นไหว้ในถ้ำตรงหน้าผาที่คู่รักกระโดดหน้าผาตายตามกันไป และให้ชื่อเขาลูกนั้นว่า เขาสามมุก ส่วนชายหาดนั้นเองก็มีชื่อว่าหาดบางแสนนั่นเอง
“เจ้าแม่เขาสามมุก” ก็ได้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีคนมาเคารพสักการะและบนบานศาลกล่าวกันอยู่เนืองนิจ เนื่องด้วยเกรงกลัวเภทภัย เมื่อเวลาจะออกทะเลไปหาปลาก็มากราบไหว้ จุดปะทัดบนบานเพื่อให้ปลอดภัย จนทำต่อกันมาเนิ่นนาน นอกจากได้ไปกราบไหว้เจ้าแม่แล้ว เรายังพบฝูงบริวาลเจ้าแม่เป็นจำนวนมาก คือเข้าลิงจ๋อบนเขานั่นเอง
เน้อเรื่องโดยย่อของสถานที่อันเต็มไปด้วยตำนานรักก็มีเท่านี้ หากใครอยากชมคลิปที่เรียบเรียงละเอียดขึ้น เนื้อหายาวกว่านี้รับชมได้ทางช่องยูทูปของแอดได้เลยตามลิงค์นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น