Funny game for your mobile

ตำนานผาแดง-นางไอ่ แห่งทะแลบัวแดง

   “หนองหานหลวง” เป็นทะเลน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของภาคอีสาน และวรรณกรรมอีสานเรื่องนี้ (คัดลอกจากหนังสือ ประวัติพระธาตุนารายณ์เจงเวง โดย พระมหาประมวล ฐานทตฺโต,ดร.หน้า 44-53) ก็เป็นปฐมเหตุแห่งประเพณีอันยิ่งใหญ่ “บุญบั้งไฟ” ที่ขึ้นชื่อลือชาของชาวอีสานมาแต่บรรพกาล



ตำนานผาแดง-นางไอ่
        ณ เมืองสุวรรณโคมคำ มีพญาขอมครองเมือง มีมเหสี ชื่อนางจันทร์ มีพระธิดาชื่อ นางไอ่ หรือ “นางไอ่คำ” นางมีสิริโฉมงดงามมาก หาใครมาเทียบได้ ความสวยของนางเป็นที่เลื่องลือ จนเรื่องไปถึงหูของ “ท้าวผาแดง” กษัตริย์ลาวรูปงามแห่งผาโพงนคร ส่งสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ไปฝากให้นางไอ่ เพื่อผูกสัมพันธ์ไมตรี โดยให้ทหารมหาดเล็กคนสนิทช่วยเป็นสื่อติดต่อ ผ่านนางสนมคนรับใช้ใกล้ชิดของน่างไอ่ และทุกครั้งที่นางไอ่รับสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ สนมคนสนิทก็จะพร่ำพรรณนาถึงความรูปหล่อ สง่างาม องอาจ ผึ่งผาย กำยำ ล่ำบึก ของท้าวผาแดง ให้นางไอ่ฟัง จนนางเกิดความสนใจ และหลงรักท้าวผาแดง ในที่สุด ทั้งๆที่ทั้งสองคนไม่เคยได้เห็นหน้ากันเลย แล้วทั้งสองก็ได้พบรักกัน จนในที่สุด กษัตริย์ลาวก็ตั้งใจจะมาสู่ขอ นางไอ่ และให้สัญญาว่าจะมาสู่ขอตามประเพณี และจะแต่งงานกันหลังบุญบั้งไฟจบลง
ณ.เมืองบาดาลอันมีพญานาคชื่อ สุทโธนาคา เป็นเจ้าครองนคร มีราชโอรสชื่อ“ท้าวภังคี” ซึ่งเป็นราชโอรสองค์เดียวของ “พญาศรีสุทโธนาค” ด้วยความที่ท้าวภังคีเคยเป็นเนื้อคู่กับนางไอ่คำเมื่อครั้งอดีตกาลจึงมีจิตใจเสน่หา และด้วยแรงอธิษฐานของนางไอ่ในอดีตขอให้อดีตคนรักที่เป็นใบ้ต้องตายลงด้วยน้ำมือของนางเองแล้ว จึงมีจิตผูกพันร้อนใจอยากมาพบ อดีตเนื้อคู่ มาวันหนึ่ง พญาขอม จัดงานบุญบั้งไฟเดือนหก มีการจัดแข่งขันว่าบั้งไฟของใครจะขึ้นได้สูงที่สุด หากบั้งไฟของเจ้าเมือง หรือเจ้าชายใดขึ้นสูงไม่มีใครสู้ได้ ก็จะได้นางไอ่ไปครอบครอง โดยกำหนดเอาวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันงานบุญบั้งไฟ ซึ่งเป็นงานบุญครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อถึงวันงาน ผู้คนต่างก็หลั่งไหลมาจากทุกทั่วสารทิศ มีบั้งไฟจาก ๒ เจ้าเมือง คือ พญาฟ้าแดด กับ พญาเชียงเหียน และอีก ๑ เจ้าชาย คือ ท้าวผาแดง ได้นำบั้งไฟมาเข้าแข่งขันประลองในวันนั้น
ท้าวภังคีได้โอกาสก็ขึ้นมาจากวังบาดาลเพื่อชมความงามของนางเช่นกัน พญานาคได้แปลงกายเป็นกระรอกเผือก (กระรอกด่อน) วิ่งเล่นเกาะกิ่งไม้ไปมา ในการประลองงานแข่งขัน พญาขอมรู้แล้วว่าท้าวผาแดงจะมาสู่ขอนางไอ่ จึงตรัสว่า หากบั้งไฟของเราสูงกว่าจะไม่ยกนางไอ่ให้ แต่ถ้าของท้าวผาแดงสูงกว่าก็จะยกนางไอ่ให้ แต่การประลองครั้งนี้ท้าวผาแดงแพ้เห็นๆ เพราะบั้งไฟแตกก่อนขึ้น ท้าวผาแดงจึงผิดหวังยิ่งนัก ผลการตัดสินแพ้ชนะในครั้งนั้นไม่มี เพราะท้าว พญาทั้งสองมีศักเป็นอาและลุงของนางไอ่ จึงไม่มีการยกธิดาไอ่คำให้กับผู้ใด ทั้งท้าวผาแดง และนางไอ่ต่างก็ผิดหวังในการแข่งขันในวันนี้ แต่ก็ไม่สามารถบอกความจริงได้ ต้องจำใจฝืนกลับสู่เมืองของตน เพื่อหาโอกาส หนทางอื่นอีกต่อไป
ส่วนท้าวภังคี เมื่อได้ยลโฉมพระธิดาไอ่คำแล้ว และเมื่อไม่มีผู้ใดชิงนางไอ่ไปเป็นคู่ครองได้ ก็คิดหมายปองอยากได้นางมาเป็นคู่ของตน เมื่อกลับสู่นาคพิภพแล้ว ก็ไม่เป็นอันกิน อันนอน เฝ้าเพ้อฝันถึงแต่ธิดาไอ่คำ เมื่อความรักกลุ่มรุม จนไม่สามารถจะอดทนได้ จึงได้ลักลอบออกจากเมืองบาดาล ปรากฏกายบนเมือง เอกชะธีตา โดยแปลงร่างเป็นกระรอกน้อยดังเดิม แต่ครั้งนี้ แขวนกระดิ่งน้อย ปีนป่าย เต้นไปมา อยู่บนต้นงิ้ว ข้างหน้าต่างของพระธิดา พระธิดาสายตาเห็นเจ้ากระรอกสวยงามตัวนี้เข้าก็อยากจะได้ จึงสั่งให้หาคน ล้อมจับแต่ก็ไม่มีใครจะจับกระรอกน้อยตัวนั้นได้ และกระรอกก็ยังเต้นไปมาอยู่บนต้นงิ้ว ต้นนั้นเหมือนกับการยั่วยุ จึงสั่งให้นายพรานไปจับมา กระรอกไม่ยอมอยู่เฉย นายพรานตัดสินใจง้างธนูยิง กระรอกกลับโดนธนูของพรานตาย ด้วยแรงอาฆาต ก่อนจะสิ้นชีวิตจึงอธิษฐานขอให้เนื้อของตนจงอร่อยและพอกินแก่คนทั้งเมือง ชาวบ้านรู้ข่าวกระรอกเผือกมีเนื้อมาก แกงเท่าไหร่ก็กินไม่หมด ก็แห่กันมาแย่งกินแกงกระรอกกันทั้งเมือง ทุกคนต่างก็ได้ชิมเนื้อกระรอกกันถ้วนหน้า จะมีก็แต่แม่หม้ายคนหนึ่งไม่ได้ไปกินกับเขา บริวารของท้าวภังคีมาเห็นเข้าจึงนำเรื่องไปกลบบอกท้าวสุทโธธนะ พอพญานาคพระบิดาทราบข่าวว่าราชโอรสตาย จึงโกรธแค้นอย่างมาก สั่งไพร่พลกองทัพนาคขึ้นมาถล่มเมือง เพื่อสังหารผู้ที่กินเนื้อกระรอกให้หมดทุกคน เมืองก็เกิดน้ำท่วมถล่มอย่างหนัก ผู้คนมากมายล้มตาย บ้างหายสาบสูญ ส่วนแม่หม้ายที่ไม่ได้กินเนื้อกระรอกกลับรอดตายราวปาฎิหารย์ ผู้ใดที่ได้กินเนื้อท้าวภังคีนาค คนผู้นั้นก็จมหายไปกับแผ่นน้ำ เมืองทั้งเมืองล่มสลายกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ในบัดดล คงเหลือไว้แต่บ้านของพวกแม่ม่าย ผู้ไม่มีโอกาสได้ลองลิ้มชิมรสเนื้อกระรอกเผือก จึงกลายเป็นเกาะแก่ง หรือ ดอน ท่ามกลางน้ำหนองหาน จนทุกวันนี้


        ท้าวผาแดงกษัตริย์ลาวหนีรอดจากเหตุภัยธรรมชาติมาได้ จึงคิดจะพานางไอ่คำหนีออกจากเมืองขึ้นม้าบักสาม แต่หนีไปได้ไม่เท่าไหร่ ก็ถูกเหล่าบริวารพญานาคเอาหางตวัดนางตกลงจากหลังม้าจับตัวนางลงไปยังเมืองบาดาล


        เมื่อไม่มีไอ่คำ ผาแดงก็หมดสิ้นทุกสิ่งทุกอย่าง ได้แต่ตรอมตรม ระทมทุกข์ทรมานอยู่เพียงผู้เดียว และแล้วลมหายใจเฮือกสุดท้ายก็พรากชีวิตอันรันทดนั้น ท้าวผาแดงสิ้นใจตาย เพราะความอาลัยไอ่คำ สุดที่รักอย่างน่าเวทนายิ่งนัก และด้วยแรกพิษรักที่ไม่สมหวังนี้ทำให้วิญญาณของท้าวผาแดงกลายเป็นวิญญาณอาฆาตแค้นต่อพญานาค เมื่อวิญญาณของท้าวผาแดงและท้าวภังคีนาค พบกันเมื่อไหร่ การรบก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น


        จุดที่เมืองถล่มได้กลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ที่เราเรียกว่า “หนองหาน” ในปัจจุบัน ส่วนที่ไม่จมก็กลายเป็นเกาะ เกาะหนึ่งก็คือดอนแม่หม้ายที่เหลือในปัจจุบัน เมื่อวิญญาณของท้าวผาแดงและท้าวภังคีนาค พบกันเมื่อไหร่ การรบก็เกิดขึ้นเมื่อนั้น ในการรบกันแต่ละครั้ง ใช้เวลารบกันถึง ๗ วัน ๗ คืน มีพื้นใต้น้ำหนองหานเป็นสนามรบ โดยไม่มีใครแพ้ ใครชนะ แต่ก็จะรบกันไปเรื่อยๆ ส่วนวิญญาณของไอ่คำ ถูกจองจำอยู่ใต้พื้นน้ำหนองหาร เพราะนางเป็นตัวการอาฆาตแค้นของวิญญาณทั้งสอง ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันนานจนไม่มีใครแพ้ชนะ ทำให้หนองน้ำขุ่นผู้คนและชาวบ้านต่างเดือดร้อน ในที่สุดท้าวเวสสุวรรณ เทพผู้ดูแลภพมนุษย์ จึงได้ลงมาระงับศึกจากสรวงสวรรค์ และสั่งให้นางไอ่คำรอเนื้อคู่ของตนอยู่ที่หนองหานบาดาล จนกว่าพระพุทธเจ้าองค์ใหม่จะลงมาตัดสินว่านางจะเป็นของใคร.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ค้นหาบล็อกนี้