พืชกินสัตว์ คือพืชที่พัฒนาการมาจากสายพันธ์ที่ต้องอยู่รอดในดินที่มีสารอาหารน้อย หรือดินที่มีสภาพเป็นกรด มันสามารถสร้างเอนไซม์ย่อยอาหารและดูดซึมสารอาหาร ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับพลังงานนะส่วนวิธีการที่มันใช้ดักจับสัตว์มี 5 แบบด้วยกันได้แก่ แบบกับดักหลุมพราง แบบตระครุบ หรือสร้างเมือกเหนียวเพื่อจัดการกับแมลงตัวเล็กๆ ทีนี้แอดจะพามาดูพืชแปลกประหลาดที่มีรูปร่างหน้าตาเหมือนสิ่งมีชีวิตจากนอกโลกในหนัง แต่มีจริงๆในโลก และบางต้นมีกลิ่นที่คนเกลียด แต่มันล่อแมลงให้มาผสมเกสรได้นะจะบอกให้
หม้อข้าวหม้อแกงลิง
หม้อข้าวหม้อแกงลิง เป็นพืชเถากินแมลงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในบ้านเรา มักขึ้นอยู่รวมกันเป็นกอหนาแน่น หรือเกาะไม้พุ่มขนาดเล็ก มีลักษณะเป็นไม้เลื้อยไปตามพื้นดินหรือเกี่ยวพันเกาะต้นไม้อื่นมีความยาวได้ถึงประมาณ 5 เมตร มักพบเห็นได้ง่ายในบ้านเราและแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึงทางตอนบนของประเทศออสเตรเลีย มี่สายพันธุ์แท้มากกว่า 100 ชนิด โดยเฉพาะในประเทศอินโดนีเซียมีถึง 30 ชนิด
รูปทรงของลำต้นขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่แตกต่างกันไป มีทั้งทรงกระบอกและทรงเหลี่ยม มีขนอ่อนและไม่มีขนอ่อน รวมถึงสีที่แตกต่างกันไป ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยวตรง มีตาระหว่างก้านใบและลำต้นเพื่อแตกยอดอ่อนจากเนื้อเยื่อภายในตา ส่วนปลายใบจะเติบโตเป็นหม้อหรือกระเปาะขนาดเล็ก ในหม้อจะมีน้ำเหนียวเพื่อขังแมลงให้ตายและย่อยแมลงเป็นอาหาร ส่วนหม้อที่ใหญ่ตามแต่ ละชนิดนั้น จะสามารถดักเหยื่อที่เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดเล็กอย่างกิ้งก่าได้
หม้อข้าวฯ จะเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝน สภาพแวดล้อมมีความชื้นสูง ทำให้หม้อดักแมลงมีขนาดใหญ่ และสีสันสวยงาม กระเปาะเมื่อยังอ่อนฝาจะปิด จากนั้นเมื่อกระเปาะแก่ฝาจะเปิดสูง กระเปาะมีหลายสี เช่น สีเขียวสีนํ้าตาลอมแดง และสีเขียวปนแดงเรื่อๆ ภายในกระเปาะมีขนป้องกันแมลงที่ตกเข้าไปไม่ให้ออก รวมทั้งที่ผิวกระเปาะยังมีรูเล็กๆจำนวนมากปล่อยน้ำย่อยออกมาขังไว้ในกระเปาะ เพื่อย่อยสลายแมลงเป็นอาหารอีกด้วย
ดอกบุกยักษ์ ดอกศากศพ
(Corpse plants / Titan Arum)
“ดอกบุกยักษ์” หรือดอกซากศพ เป็นพันธุ์ไม้หายาก อยู่ในสกุล "บุก" ที่มีความพิเศษเรื่องกลิ่นเหม็นคล้ายซากศพ เมื่อเบ่งบานจะส่งกลิ่นเน่าเหม็นรุนแรงคล้ายกลิ่นซากศพ ซึ่งแต่ละต้นอาจใช้เวลายาวนานกว่า 10 ปี ดอกจึงจะสามารถเบ่งบาน และสามารถบานได้เพียงครั้งเดียวต่อ 1 ช่วงอายุ และจะบานเพียง 72 ชั่วโมงเท่านั้น มีแหล่งกำเนิดเดียวในโลกที่ป่าดิบชื้นล่าง เกาะสุมาตราตอนกลาง ประเทศอินโดนีเซีย
ดอกซากศพเป็นพันธุ์พืชใกล้สูญพันธุ์ มีความสูงถึง 130 เซนติเมตร ดอกที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงบานได้ยากมาก โดยมีบันทึกในรอบ 100 ปีมานี้ ดอกซากศพบานเพียงราว 99 ครั้งเท่านั้น
ดอกซากศพ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Amorphophallus titanum เป็นพืชในเขตป่าร้อนชื้น ในพืชตระกูล "บัวผุด" (Rafflesia) เป็นดอกไม้เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ( Indonesia )
ลำพังตัวช่อดอกแทงยอดตั้งขึ้นไปกว่า 3 เมตร ขนาดอันใหญ่โตมหึมานี้เป็นธรรมชาติที่พืชสร้างขึ้นเพื่อปกป้องตัวเองจากสัตว์บางชนิด ขณะเดียวกันกลิ่นน่าสะอิดสะเอียนที่หึ่งไปทั่ว กลับเย้ายวนแมลงบางชนิดให้มาดูดน้ำหวานและผสมเกสรให้มัน
กล่าวกันว่ากลิ่นของดอกซากศพคล้ายกับเนื้อเน่าสำหรับคน แต่กลับเป็นกลิ่นหอมยั่วน้ำลายแมลงเต่า ที่ชอบกินของเน่าและแมลงวันให้มาช่วยผสมเกสร กลีบดอกสีแดงเข้มยังช่วยลวงตาให้สัตว์นึกว่าเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่น่าตอมด้วย
กาบหอยแครง (Venus Flytrap)
กาบหอยแครง มีถิ่นกำเนิดบริเวณที่ราบชายฝั่งทะเลประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก ทรงพุ่มเตี้ย มีเหง้าลักษณะคล้ายหัว ใบมีสีเขียวและสีแดงฉูดฉาด ใช้ล่อแมลงให้มาติดกับดัก เป็นพืชกินสัตว์ที่ดักจับและย่อยกินเหยื่อที่จับได้ ซึ่งส่วนมากเป็นแมลงและแมง ส่วนกับดักของมันดูคล้ายบานพับ รูปร่างคล้ายปากของสัตว์ประหลาด 2 กลีบ สีเขียวมีขนกระตุ้นบางๆบนพื้นผิวด้านในกับดัก นั่นทำให้มันรับรู้ได้ว่ามีแมลงหรือสิ่งมีชีวิตเข้ามาเกาะ และธรรมชาติของระบบกระตุ้นที่ซับซ้อนนี้ จะทำงานเมื่อมีการกระตุ้นสองครั้ง ครั้งแรกไม่งับ ทำให้ระบบแบบนี้สามารถทำให้มีโอกาสจับได้ว่าเป็นสัตว์ การที่มันมีสิ่งกระตุ้นที่ซับซ้อนนี้ ก็เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานไปกับการดักจับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาหาร
และไม่ใช่ว่ากราบหอยแครงจะดักสัตว์อื่นได้ทุกครั้ง เมื่อฝาปิดไม่สนิท ปิดไม่แน่น ฝาของมันจะค่อยๆเปิดออกมาเองเพื่อคายเจ้าสิ่งที่ติดให้ออกมา ที่เป็นแบบนี้เพราะใบของมัน 1 ใบไม่สามารถปิดได้บ่อยๆ
กาบหอยแครงจะพบในสิ่งแวดล้อมที่มีเป็นหนองน้ำ หรือทุ่งหญ้าที่เปียกชื้น กาบหอยแครงมีต้นเตี้ย โตช้า ทนไฟได้ดีและการเผาไหม้จากไฟป่าเป็นระยะ ๆ การที่มันต้องกินสัตว์เป็นอาหาร เนื่องจากวิวัฒนาการและการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมของพืชที่มีต้นกำเนิดอยู่ในบริเวณที่ไม่อุดมสมบูรณ์ ขาดแร่ธาตุหลักในดิน จึงไม่เพียงพอสำหรับการเจริญโต ทำให้ต้นไม้กินสัตว์เหล่านี้ต้องมีการชดเชยในส่วนที่ขาดไปเพื่อความอยู่รอด โดยเปลี่ยนแปลงในส่วนของใบให้สามารถล่าเหยื่อที่เป็นสิ่งมีชีวิต เพื่อเพิ่มแร่ธาตุไนโตรเจนให้กับตัวเอง บริเวณใบนี้จะมีเซลล์ที่สามารถสร้างเอนไซม์ย่อยโปรตีนได้หลากหลายชนิด
ปีศาจทะเลทราย ( Welwitschia mirabilis )
พืชเขตร้อนโบราณ ไร้ดอก มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทะเลทรายทางใต้ของ ประเทศนามิเบีย และแองโกล่า จัดเป็น พืชทะเลทราย ในกลุ่มแคดตัส และมีอายุได้ยาวนานถึง 1,000 ปี มันมีความสามารถในการปรับตัวสูง เพราะสายพันธ์ของมันอยู่ในที่แห้งแล้งได้ แถมมีอายุนับพันปีโดยไม่มีการวิวัฒนาการทางสายพันธ์เลย
นักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่าเป็นหนึ่งใน "ฟอสซิลมีชีวิต" คือมันดันมีหน้าตาไปเหมือนกับสิ่งมีชีวิตที่ขุดเจอในซากฟอสซิล!!? เพราะว่า "ปีศาจทะเลทราย" เป็นพืชโบราณที่ไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนตัวเองเลยเมื่อเวลาผ่านไปนานแสนนาน ถึงเวลาจะผ่านมานานนับล้านปี และสืบทอดลูกหลานผ่านกาลเวลาอันยาวนานเรื่อยมาเหมือนสิ่งมีชีวิตจำพวกเต่า จระเข้ และแปะก๊วย
ความแปลกประหลาดนอกจากน้ำตาของมันคล้ายสิ่งมีชีวิตจากต่างดาวแล้ว ตลอดชีวิตของมันมี ใบเพียงสองใบ!! โดยใบทั้งสองนี้จะงอกออกมาตั้งแต่มันยังเล็กๆ และจะยาวออกมาเรื่อยๆพร้อมแผ่ขยายออกตามอายุของมัน ยิ่งโตก็ยิ่งแตกแขนงออกจนดูรุ่งริ่งๆอย่างที่เห็น
เห็ดฟันเลือด (Hydnellum Peckii)
Hydnellum Peckii เป็นเชื้อราชนิดพิเศษที่ผลิตเลือดหรือน้ำสีแดงแปลกๆออกมาดูคล้ายเห็ดนี้มีพิษ หรือติดเชื้อซอมบี้อะไรแบบนั้น พืชชนิดนี้จึงได้ฉายาว่า "เชื้อราเลือด" จากสีของมัน พืชชนิดนี้พบได้ในอเมริกาเหนือและยุโรป โดยปกติพืชหรือสัตว์ที่มีสีสันแปลกๆ เวลากินเข้าไปไม่ตายก็เกือบขิต แต่เจ้านี่กินได้เฉยแต่ไม่อร่อย(ไม่รู้ใครลองเป็นคนแรก บางทีถ้าเอาไปทำจับฉ่ายอาจจะอร่อยก็ได้ ใครจะรู้)
เห็ดฟันเลือดมักพบตามพื้น โคนต้นสน โดยเจ้าเห็ดชนิดนี้มันมีเส้นใยที่จะดูดซับอาหารได้และตรึงพวกธาตุคาร์บอนให้อยู่ติดกับรากพืช เส้นใยใต้ดินของเห็ดจะเข้าไปในเนื้อเยื่อรอบๆรากพืชที่มันเกาะอาศัยอยู่ การอาศัยอยู่ร่วมกับรากพืชนี้กลับทำประโยชน์ให้แก่พืชนั้น ทำให้พืชดูดซึมอาหารได้ง่ายขึ้น
นอกจากนั้นเห็ดนี้ยังมีคุณสมบัติที่ดีต่อการสลายลิ่มเลือดเป็นยาได้อีก!! เห็ดฟันเลือด สามารถใช้สกัดสาร Atromentin ซึ่งมีประสิทธิภาพสารกันเลือดแข็ง ไม่ให้เกิดลิ่มเลือด สำหรับรักษาคนที่มีโรคลิ่มเลือดอุดตัน โดยโรคลิ่มเลือดอุดตันนี้ เป็นอันตรายต่อสมองอาจทำให้เกิดอัมพาต และสาร Atromentin ยังมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ยับยั้งเอนไซม์ แถมยังมีประโยชน์ด้านการสังเคราะห์กรดไขมันในแบคทีเรียอีกด้วย
บัวผุด หรือ บัวตูม (ย่านไก่ต้ม)
Rafflesia Arnoldii
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น